วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพจากมูลสัตว์

5. การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพจากมูลสัตว์


5.1 ปุ๋ยน้ำชีวภาพ

ผู้เผยแพร่ : อาจารย์ทิพวรรณ สิทธิรังสรรค์ ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม วัดญาณ สังวรารามวรมหาวิหารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดชลบุรี

ปุ๋ยน้ำชีวภาพ เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ทำมาจากการหมักซากพืชซากสัตว์ในน้ำ โดยมีจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย

ประโยชน เป็นปุ๋ยเสริมให้แก่พืช เพื่อเสริมธาตุอาหารให้พืชในขณะที่พืชกำลังเจริญเติบโต ปุ๋ยน้ำชีวภาพจะให้ทั้งธาตุอาหารและจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช

วัสดุที่ใช้ วัสดุที่ใช้ทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ ได้แก่ ซากพืช ซากสัตว์ต่างๆ เช่น ต้นหญ้า ต้นถั่ว รำข้าว มูลสัตว์ และเชื้อจุลินทรีย์

ตัวอย่างการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพจากรำข้าวและมูลไก่ไข่

1. รำละเอียด 60 กิโลกรัม

2. มูลไก่ไข่ 40 กิโลกรัม

3. เชื้อ พด.-1 1 ซอง

ขั้นตอนการทำ

1. นำรำละเอียดและมูลไก่ไข่มาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
2. เตรียมเชื้อจุลินทรีย์ โดยนำเชื้อ พด.-1 เทใส่ในน้ำ 20 ลิตร ใช้ไม้คนอย่างสม่ำเสมอ เป็นเวลา 15-20 นาที
3. เทเชื้อ พด.-1 ที่เตรียมไว้ลงไปที่กองรำและมูลไก่ไข่ที่ผสมกันไว้แล้ว พร้อมทั้งพรมน้ำเพื่อให้ความชื้นกองปุ๋ย ใช้พลั่วคลุกเคล้ากองปุ๋ยจนวัสดุต่างๆผสมกันดี และมีความชื้นประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์
4. ทดสอบความชื้นในกอง โดยใช้มือกำวัสดุ แล้วคลายมือออก ก้อนวัสดุก็ยังไม่แตก จากนั้นใช้กระสอบป่านคลุมกองไว้
5. การดูแลกองปุ๋ย ให้กลับกองปุ๋ยทุกวัน เป็นเวลา 7 วัน โดยทุกครั้งที่กลับกองแล้ว ให้คลุมกองปุ๋ยด้วยกระสอบป่านไว้อย่างเดิม (ในระหว่าง 7 วัน จะสังเกตเห็นเชื้อราสีขาวขึ้นที่ส่วนผิวนอกกองปุ๋ยก่อน แล้วค่อยๆลุกลามเข้ามาในกองปุ๋ย) เมื่อครบ 7 วันแล้ว ให้แผ่กองปุ๋ยออก ผึ่งในร่มจนแห้ง
6.หลังจากผึ่งในร่มจนแห้งแล้ว ควรเก็บใส่ถุงกระดาษหรือกระสอบที่มีการระบายอากาศได้ เพื่อให้เก็บไว้ใช้นานๆ ควรเก็บในที่ร่ม ไม่ตากแดดตากฝนและมีการถ่ายเทอากาศดี

การใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ

1. เตรียมปุ๋ยน้ำ โดยใช้ปุ๋ยแห้ง 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ใส่ลงไปในถังหรือโอ่ง แล้วปั๊มอากาศเข้าไป หรือใช้ไม้คนบ่อยๆอย่างน้อยวันละ 3-4 ครั้ง เป็นเวลา 5-7 วัน จะได้ปุ๋ยน้ำที่เข้มข้น ดังนั้น ก่อนนำไปใช้จะต้องผสมน้ำ 20-40 เท่า (ปุ๋ยแห้ง 1 กก. จะทำเป็นปุ๋ยน้ำได้ 400-800 ลิตร)
2. ปุ๋ยน้ำใช้กับต้นพืชได้ 3 วิธีคือ
2.1 รดที่โคนหรือปล่อยตามร่อง โดยใช้ทุกๆ 3 วัน สำหรับผักอายุสั้น เช่นผักบุ้ง ใช้ทุกๆ 7 วัน หรือสำหรับผักทั่วไป ใช้เดือนละ 1 ครั้งสำหรับไม้ผล
2.2ใช้อัดลงดินโดยใช้หัวอัดต่อกับรถไถเดินตามวิธีนี้จะช่วยนำปุ๋ยน้ำไปสู่บริเวณรากพืชและแรงอัดจะช่วยทำให้ดินโปร่งขึ้น ถ้าใช้วิธีอัดลงดินจะทำทุกๆ 15-20 วัน
2.3ใช้ฉีดพ่นใบ โดยอาจผสมกับยาสมุนไพรฉีดไปพร้อมกันเลยก็ได้เนื่องจากรำในประเทศไทยมีราคาแพง สามารถลดสัดส่วนของรำลงได้หรืออาจทำปุ๋ยจากวัสดุที่แตกต่างไปจากที่กล่าวมานี้ได้ เช่น ปุ๋ยน้ำจากถั่วพร้าสดๆ โดยใช้ต้นถั่วพร้า 20 กิโลกรัม สับเป็นท่อนๆผสมคลุกเคล้ากับรำละเอียด 4 กิโลกรัม และเชื้อ พด.-1 จำนวน 1 ซอง พรมน้ำเล็กน้อยแล้วคลุมกองปุ๋ยด้วยกระสอบป่าน กลับกองปุ๋ยทุกวันเป็นเวลา 7 วัน จึงนำมาใช้ได้ เวลาใช้ให้ห่อด้วยตาข่ายไนลอนแล้วนำไปใส่ลงในถังที่บรรจุน้ำไว้แล้ว 90 ลิตร ใช้ตุ้มน้ำหนักทับ ปั๊มอากาศ เป็นเวลา 3 วันหรือใช้ไม้คนทุก ๆวัน วันละ 3-4 ครั้ง เป็นเวลา 3 วัน นำไปผสมน้ำอีก 25 เท่า แล้วนำไปใช้กับต้นพืชได้ ดังนั้นเกษตรกรสามารถดัดแปลงเศษพืชหรือซากสัตว์ที่เหลือทิ้งในไร่นานำมาทำปุ๋ยน้ำใช้ได้เอง
ข้อเสนอแนะ

การใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ควรใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ชนิดอื่นๆ เช่นปุ๋ยหมักโดยจะใช้ปุ๋ยหมัก คลุกลงในดินขณะเตรียมดินปลูก และใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพเสริมธาตุอาหารให้แก่พืชในขณะที่พืชกำลังเจริญเติบโต

 5.2 วิธีการทำปุ๋ยน้ำคอกชีวภาพ 

ผู้เผยแพร่ : สวนวันเพ็ญ จังหวัดปราจีนบุรี (037) 405026 มือถือ(01) 803-4934

วิธีทำ

1. มูลโค 1 กระสอบปุ๋ยเจาะรูให้รอบๆ
2. ตาสับปะรด 2–3 หัวหรือเหง้าหญ้าขน 2–3 กอ
3. กากน้ำตาล 2 กิโลกรัม รำละเอียด 1/2 กิโลกรัม
4. นำของทั้งหมดใส่โอ่ง 200 ลิตร ใส่น้ำให้เกือบเต็มโอ่ง หาวัสดุกดไว้อย่าให้กระสอบลอย หมักไว้ 7–15 วัน ตักน้ำปุ๋ยคอกไปราดโคนต้นไม้ จุลินทรีย์และปุ๋ยน้ำคอกที่เราหมักจะทำให้ต้นไม้เราแตกใบอ่อนอยู่ตลอดเวลา

ที่มา http://www.doae.go.th/soil_fert/biofert/moonanimal10.htm